EKIDEN RELAY MARATHON

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2567
เวลา 03.00-10.00 น.
สถานที่จัดงาน จุดเริ่มต้นทุกระยะทาง ณ ข่วงประตูท่าแพ อำเภอเมืองเชียงใหม่
เส้นชัย ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอแม่ริม
เส้นทางวิ่งใช้เส้นทางวิ่งรวมกับนักวิ่งมาราธอน
ปล่อยตัวตรงเวลา 03.00 น.
ฟรี ค่าสมัคร
เฉพาะ นักเรียน-นักศึกษา ของสถาบันการศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษา-มหาวิทยาลัย 
ในจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน
ไม่อนุญาตให้นักวิ่งที่มาออกตัวช้ากว่า 03.05 น. ออกจากจุดปล่อยตัว

EKIDEN RELAY MARATHON

          "เอคิเด็น" (EKIDEN) อาจจะไม่ใช่การแข่งขันวิ่งระยะไกลที่คุ้นหูสำหรับชาวไทย เทียบเท่ากับ "ลอนดอน มาราธอน", "บอสตัน มาราธอน" หรือ "โตเกียว มาราธอน" แต่สำหรับคนญี่ปุ่น มันคือรายการวิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขา และมีอายุยาวนานมากว่า 100 ปี ย้อนกลับไปถึงปี 1912 เมื่อ ชิโสะ คานาคุริ นักวิ่งมาราธอนญี่ปุ่น ได้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 5 ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในตอนนั้นเขาได้เป็นตัวแทนของชาวอาทิตย์อุทัย เนื่องจากทำลายสถิติสถิติโลกมาราธอนด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 32 นาที กับอีก 45 วินาที แม้ว่าตัวเขาจะตั้งเป้าถึงเหรียญทอง แต่เวทีระดับโลกกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น จากความเหนื่อยล้าที่ต้องใช้เวลาเดินทางยาวนานกว่า 18 วันจากญี่ปุ่นถึงสวีเดน อีกทั้งยังมีปัญหาท้องไส้กับอาหารท้องถิ่น บวกกับอุณหภูมิที่สูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้ คานาคุริ หมดสติอยู่กลางทาง ก่อนจะถูกช่วยโดยเกษตรกรท้องถิ่น และแน่นอนว่าไม่ผ่านการตัดตัวเข้าไปถึงรอบชิงเหรียญ
          ในปี 1917 ในวาระฉลองครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งโตเกียวเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่น ได้มีจัดการแข่งขันวิ่งผลัดระยะไกลขึ้น ซึ่งเป็นเส้นทางจาก โตเกียว ไป เกียวโต ระยะทางรวมทั้งสิ้น 507 กิโลเมตร ใช้เวลาวิ่งทั้งหมด 3 วัน แบ่งเป็น 23 สเตจ และใช้ สายสะพาย หรือ ทาสุกิ (Tasuki) แทนไม้ผลัด โดยหนังสือพิมพ์โยมิอุริ เป็นสปอนเซอร์จัดการแข่งขัน ในตอนนั้นได้ตั้งชื่อมันว่า "เอคิเด็น"  เป็นการเอาคันจิสองตัวมารวมกัน นั่นคือคำว่า สถานี (eki) และ ส่งต่อ (den) โดยมีที่มาจากเส้นทางของการแข่งขันในครั้งนี้ ที่เป็นทางสายโทไคโด ทางสายโบราณที่เชื่อมระหว่าง เกียวโต และ เอโดะ (โตเกียว) ซึ่งตามรายทางจะมีสถานีเพื่อหยุดพักหรือเปลี่ยนม้าสำหรับคนส่งสารในอดีต แน่นอนว่า คานาคุริ ก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมแข่งขันเอคิเด็นในครั้งนั้น ด้วยประสบการณ์ในโอลิมปิก เขาก็คิดออกว่าการแข่งวิ่งระยะไกลนี่แหละที่จะสามารถช่วยพัฒนานักวิ่งญี่ปุ่นรุ่นใหม่ ๆ ได้ ทำให้อีก 3 ปีต่อมา เขาได้จัดการแข่งขัน ฮาโคเน เอคิเด็น ขึ้น แม้ว่าการแข่งขัน ฮาโคเน เอคิเด็น ครั้งแรกในปี 1920 จะมีทีมจากมหาวิทยาลัยฝั่งคันโต (ตะวันออกของญี่ปุ่น) เข้าร่วมเพียง 4 สถาบัน แต่หลังจากนั้นอีกหลายสิบปี มันก็กลายเป็นมหกรรมกีฬาครั้งยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น ที่มีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ
หลังจากเอคิเด็นครั้งแรกถือกำเนิดในปี 1917 การแข่งขันเอคิเด็น ก็เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วญี่ปุ่น และเริ่มมีการแข่งขันลักษณะนี้มากมาย ตั้งแต่ระดับประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ไปจนถึงระดับบริษัท ด้วยการแข่งขันที่จัดขึ้นในช่วงปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงหยุดยาวที่คนไม่อยากออกไปไหน เพราะอากาศหนาว ทำให้มันกลายเป็นกิจกรรมเพื่อความบันเทิงสำหรับผู้ชมในช่วงนั้น และมีเรตติ้งที่สูงมากเป็นประจำทุกปี ซึ่งแต่ละปีจะมีเพียง 20 มหาวิทยาลัยที่ได้เข้าร่วม (ญี่ปุ่นมีมหาวิทยาลัยอยู่ราว 780 แห่ง) โดยเลือกจาก 10 ทีมที่ทำอันดับได้ดีที่สุดจากปีก่อน และอีก 9 ทีมจากรอบคัดเลือก ส่วนอีกทีมเป็นทีมรวมดารานักวิ่งที่ทำเวลาดีที่สุดจากสถาบันไม่ผ่านเข้ารอบ
          เพื่อเป็นการต่อยอดในการจัดงานวิ่งมาราธอนประเพณีนานาชาติ “เชียงใหม่มาราธอน" ตลอดจนส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ สำหรับนักเรียนมันธยมปลาย และ นศ.มหาวิทยาลัย ได้เรียนรู้โดยการเข้ามาร่วมกิจกรรมวิ่งมาราธอนประเพณีนานาชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างความสามัคคี การทำงานกันเป็นทีม ฝึกฝนความอดทน ฝ่ายจัดการแข่งขันวิ่ง เมืองไทย-เชียงใหม่มาราธอน จึงได้เพิ่มประเภทการแข่งขัน EKIDEN RELAY MARATHON ในงาน เมืองไทย-เชียงใหม่มาราธอน 2024 (ครั้งที่ 19) ขึ้นเป็นครั้งแรก


ประเภทการแข่งขัน EKIDEN

TEAM ประเภท 10K+12K+11K+9.195K
U-MALE มหาวิทยาลัย ทีมชายล้วน คนละ 1 ระยะทาง
U-MIX มหาวิทยาลัย ทีมผสม (ชาย2/หญิง2) หญิง-ชาย-ชาย-หญิง
H-MALE มัธยม ทีมชายล้วน คนละ 1 ระยะทาง
H-MIX มัธยม ทีมผสม (ชาย2/หญิง2) หญิง-ชาย-ชาย-หญิง

คุณสมบัติของนักกีฬา
Arrow นักกีฬาจะต้องเป็น นักเรียน-นักศึกษา ของสถาบันการศึกษา (มัธยม-มหาวิทยาลัย) ในจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน
Arrow ทีมผสม Mix Team กำหนดระยะทางการวิ่งแต่ละผลัดดังนี้ :
ผลัดที่ 1 หญิง 10 กม. + ผลัดที่ 2 ชาย 12 กม. + ผลัดที่ 3 ชาย 11 กม. + ผลัดที่ 4 หญิง 9.195 กม. (รวม 42.195)
Arrow การกำหนดระยะทางวิ่งที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากสถานที่ดังกล่าว มีการบริการ น้ำดื่ม-เกลือแร่-ผลไม้-สุขา-ที่จอดรถ
Arrow หัวหน้าทีม/โค้ช/พี่เลี้ยง จะต้องมียานพาหนะ นำนักวิ่งของแต่ละทีม แต่ละผลัดไปส่งและรายงานตัว ณ จุดเปลี่ยนผลัด และรับนักวิ่งที่วิ่งเสร็จกลับไปรอผลการแข่งขัน ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอแม่ริม (ฝ่ายจัดการแข่งขันไม่มียานพาหนะ รับ-ส่ง)
Arrow การเปลี่ยนผลัด จะใช้ สายสะพาย หรือ ทาสุกิ (Tasuki) แทนไม้ผลัด ซึ่งจะมีระบบบันทึกเวลาการวิ่ง (Chip Timing) ติดอยู่
Arrow ห้าม หัวหน้าทีม/โค้ช/พี่เลี้ยง ขับขี่ยานพาหนะติดตาม-ช่วยเหลือ นักวิ่งบนเส้นทางโดยเด็ดขาด ฝ่าฝืนปรับแพ้โดยไม่แจ้งเตือน
*ยกเว้นจุดเชียร์ที่กำหนด 1. วงเวียนน้ำพุช้างพืชสวนโลก 2. หน้าสนามกีฬา 700 ปี 3. ขั่วเหล็กเนินนุ่ม-ทางเข้ากองพันสัตว์ต่าง
Arrow หัวหน้าทีม/โค้ช ต้องสวมใส่บัตรประจำทีมในการเข้าพื้นที่ตลอดเส้นทางการแข่งขัน
Arrow นักวิ่งทุกทีม จะต้องติดเบอร์วิ่ง (bib) ประจำตัวของตัวเองให้เรียบร้อย ก่อนรายงานตัว (Check-in) ต่อกรรมการประจำจุดแต่ละ CP ยกเว้นนักวิ่งผลัดแรก Check-in รวมกับนักวิ่งมาราธอนทั่วไป ตามเวลาดังนี้
CP สถานที่ KM ราบงานตัว ระยะทางวิ่ง
START ประตูท่าแพ 0KM 02.45 10KM
CP-2 เชียงใหม่ฮิลล์ 10KM 03.15-03.30 12KM
CP-3 หอมดอกกาแฟ 22KM 04.00-04.15 11KM
CP-4 บ้านทรงไทย 33KM 04.55-05.10 9.095KM

EKIDEN MARATHON RUNNING MAP


ถ้วยรางวัล / เงินรางวัล / เสื้อที่ระลึก / เหรียญผู้พิชิต / การบริการ​
EKIDEN RELAY MARATHON

ถ้วยรางวัล อันดับ 1-3 ทุกกลุ่ม
เงินรางวัล อันดับ 1-3 ทุกกลุ่ม
เสื้อวิ่ง (ชาย/หญิง) เสื้อกล้าม 4 ตัว/ทีม
เสื้อ T-shirt หัวหน้าทีม/โค้ช
Timing chip
สายสะพาย (Tasuki)
เหรียญผู้พิชิต 4 เหรียญ/ทีม
ถุง Goodie Bag
e-Certificate
ประกันอุบัติเหตุ
อาหาร-เครื่องดื่ม Set 5 Set/ทีม
   

เงินรางวัลทีมที่ชนะการแข่งขัน EKIDEN

อันดับ 1 3,000 บาท
อันดับ 2 2,500 บาท
อันดับ 3 2,000 บาท
การสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน
Arrow ค่าสมัคร ฟรี. (มีผู้สนับสนุนออกให้)
Arrow รับสมัครจำนวนจำกัด รวม 40 ทีม
  • U-MALE มหาวิยาลัย ทีมชายล้วน 10 ทีม
  • U-MIX มหาวิทยาลัย ทีมผสม 10 ทีม
  • H-MALE มัธยม ทีมชายล้วน 10 ทีม
  • H-MIX มัธยม ทีมผสม 10 ทีม
Arrow ขอรับใบสมัคร 1-15 พฤศจิกายน 2567 ไดที่อีเมล : cs@jogandjoy.run
Arrow เปิดรับสมัครตั้งแต่ 10-20 พฤศจิกายน 2567 New ส่งใบสมัครก่อนได้ก่อน
Arrow ส่งใบสมัครได้ที่ อีเมล : cs@jogandjoy.run

กำหนดวัน รับเสื้อ-เบอร์วิ่ง-Chip
ประชุมรับฟังกกฏกติกา/ตอบข้อซักถาม


วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2567
รับอุปกรณ์การแข่งขัน เวลา 13.00-13.15 น.
ประชุม หัวหน้าทีมหรือโคช หรือ ตัวแทนของทีม เวลา 14.00-15.00 น.

ณ ข่วงประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่
โปรดนำ รูปถ่ายบัตรประชาชน หรือ ข้อมูลใบสมัคร บนโทรศัพท์มือถือ ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่


JOG&JOY ฝ่ายจัดการแข่งขัน โทร. 02 721 6008-9 (09.00-17.00 น.) เสาร์-อาทิตย์ ปิดทำการ
Mobile :
098 824 1317, 086 391 8434
E-mail: cs@JogAndJoy.run


JOG&JOY LINE